บทสัมภาษณ์นักศึกษา

ภูวิช รัตนดิษฐ์ (พี่เนียร์)


นักศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ


เหตุผลที่พี่เลือกภาคนี้เพราะเป็นสาขาเปิดใหม่ที่น่าสนใจและเปิดเพียงไม่กี่ที่ในประเทศไทย อาจารย์ทั้งชาวไทยและต่างประเทศในภาควิชามีคุณวุฒิความเชี่ยวชาญสูง และเห็นรุ่นพี่รุ่นก่อน ๆ ได้งานทำเกือบทั้งหมด เมื่อเข้ามาเรียนแล้วทั้งพี่ ๆ และคณะอาจารย์ดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี ...

อ่านต่อ ...

Marie Marcillière


Internship student
from The University of Burgundy, France


My internship principally occurred at the department of materials and production technology engineering in a metallurgy laboratory. ...

read more ...

ธนศักดิ์ นิลสนธิ (พี่ปุ๋ย)


นักศึกษาปริญญาเอกสาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ
ในความร่วมมือกับ Grenoble Institute of Technology, France


ช่วงระยะเวลาระหว่างการเรียนในมหาวิทยาลัย เป็นเหมือนช่วงเวลาที่เราจะต้องเลือกเดินทางไปกับเรือสักลำ

อ่านต่อ ...

ทุนสำหรับนักศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ แบ่งได้ 4 ประเภท อ่านต่อ ...

1
ทุนการศึกษาภายในมหาวิทยาลัย
  • ทุนอุดหนุนการศึกษา
  • ทุนอุดหนุนวิชาการ
  • ทุนการศึกษาจากเงินพัฒนาวิชาการ (โครงการปกติ)
2
ทุนการศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก

มหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนด้านทุนการศึกษาส่วนหนึ่งจากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยเป็นประจำปี ทั้งที่เป็นทุนการศึกษาต่อเนื่องและทุนการศึกษาที่เพิ่มใหม่ในแต่ละปีการศึกษา

3
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

มหาวิทยาลัยดำเนินการตามนโยบายรัฐ ในการสนับสนุนให้นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ที่ประสงค์จะขอรับเงินทุนการศึกษาประเภทที่ต้องชำระคืนในโครงการ “กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา”(กยศ.)

4
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.)

เริ่มดำเนินการในปีการศึกษา 2549 และในปีการศึกษา 2550 รัฐบาลได้ประกาศยกเลิกกองทุนฯ กรอ. และนำกลับมาใช้ใหม่ในปีการศึกษา 2551

เราคือใคร ?

"ดีทรอยต์แห่งเอเชีย"

ประเทศไทยได้สถาปนาความมุ่งมั่นที่จะก้าวขึ้นเป็น “ดีทรอยต์แห่งเอเชีย” ในอุตสาหกรรมยานยนต์อีกทั้งเป็น “ซิลิกอนวัลเลย์” ในวงการอิเล็กทรอนิกส์ ความมุ่งมั่นดังกล่าวได้รับการขับเคลื่อนจนกระทั่งในปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ส่งออกยานยนต์รายใหญ่ของโลก อีกทั้งเป็นผู้ส่งออกหมายเลขหนึ่งของโลกในชิ้นส่วนฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ นอกจากนี้ประเทศไทยยังมุ่งมั่นที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียนในด้านอุตสาหกรรมปิโตรเคมี รวมทั้งอุตสาหกรรมการสำรวจ และผลิตน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ในมุมมองที่กว้างขึ้นไปในระดับโลก อ่านต่อ ...

ทำไมจึงต้องวิศวกรรมวัสดุ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)?

วิชาชีพวิศวกรรมวัสดุ เมื่อมองในแง่ภูมิปัญญาที่ได้รับการสั่งสมมา อาจกล่าวได้ว่ามันคือวิทยาการที่เก่าแก่อันหนึ่งของมวลมนุษยชาติ หากแต่เมื่อมองในแง่ความเป็นศาสตร์ เราอาจกล่าวได้ว่าวิศวกรรมสาขานี้เพิ่งถือกำเนิดขึ้นมาได้ไม่นาน และมีผู้เชี่ยวชาญด้านนี้เพียงหยิบมือเดียวทั้งประเทศ นั่นหมายความว่ายังมีตลาดงานและสิ่งท้าทายอีกมากให้เยาวชนรุ่นใหม่เข้ามาบุกเบิกไปข้างหน้า ยกตัวอย่างเช่นในการพัฒนายานยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรืออีโคคาร์ (eco car)
อ่านต่อ ...

โครงการวิศวกรรมวัสดุนานาชาติ มจพ.

จากที่กล่าวมาข้างต้นอาจเห็นได้ว่า มจพ. มีปรัชญาและกระบวนการศึกษามาอย่างยาวนานในการมุ่งบ่มเพาะวิศวกรในรูปแบบของมหาวิทยาลัย ในยุโรปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแบบเยอรมนีและฝรั่งเศสนับแต่แรกก่อตั้งมหาวิทยาลัยในชื่อโรงเรียนเทคนิคไทย-เยอรมัน โดยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาคอุตสาหกรรม มจพ. มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างวิศวกรซึ่งทำงานเป็น อีกทั้งมีบุคลิกลักษณะและภูมิปัญญาที่แหลมคม และมีความเป็นผู้นำ เพื่อให้บรรลุซึ่งเป้าหมายดังกล่าว มจพ. ได้รับอาจารย์ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก
อ่านต่อ ...

จบวิศวกรรมวัสดุแล้วไปทำงานอะไรได้บ้าง

นายช่างหรินทร์ งามจิตกุศล

นายช่างหรินทร์ งามจิตกุศล


วิศวกรวัสดุ บริษัท Shino-Thai Engineering and Construction pcl.

หน้าที่ความรับผิดชอบ การตรวจสอบโครงสร้างขนาดใหญ่ในการก่อสร้างทางยกระดับสำหรับรถไฟฟ้า (สายสีม่วง) การวิเคราะห์ความเสียหายของวัสดุและประเมินอายุการใช้งานของวัสดุ “เหตุผลหลักเลยน่ะครับที่พี่เลือกเรียนในสาขาวิศวกรรมวัสดุ คือ ในปัจจุบัน ความต้องการบุคลากรในสาขานี้มีมากทั้งในและนอกประเทศ แต่กลับมีมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนในเรื่องนี้ไม่มากครับ จึงทำให้โอกาสในการทำงานมีให้เลือกอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งในโรงงานและธุรกิจต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก”

พนิดา บุญอากาศ

พนิดา บุญอากาศ


นักศึกษาฝึกงาน บริษัท ปตท. สำรวจ และผลิตปิโตรเลียมจำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.)

หน้าที่ความรับผิดชอบ “บริษัทปตท.สผ. จะมอบหมายให้นักศึกษาฝึกงานแต่ละคนมีโปรเจ็คเป็นของตัวเอง ซึ่งเป็นโปรเจ็คที่เกิดจากสถานการณ์จริงๆในแท่นขุดเจาะน้ำมัน และเค้าต้องการให้เราแก้ไขจริงๆ ส่วนมากที่พี่ทำจะเป็นงานพวกตรวจสอบการกัดกร่อน วิเคราะห์สาเหตุของการกัดกร่อน และหาวิธีการป้องกันการกัดกร่อนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงค่ะ” “ถ้าน้อง ๆ เลือกเรียนสาขาวิชานี้ พี่รับรองค่ะว่าไม่ตกงานแน่นอน เพราะตอนนี้ โรงงานต่างๆตลอดจนบริษัทใหญ่ๆ เริ่มให้ความสนใจ ที่จะรับวิศวกรที่จบด้านนี้มากขึ้น เนื่องจากเรามีทั้งความรู้ด้านวิศวกรรมและการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบทางวิทยาศาสตร์ควบคู่กัน ทำให้สาขาวิชานี้เป็นสาขาวิชาด้านวิศวกรรมสาขาใหม่ที่น่าสนใจอีกสาขาวิชาหนึ่งเลยล่ะค่ะ”

วาทิศ ประเจกสกุล

วาทิศ ประเจกสกุล


วิศวกร แผนกวิศวกรรมวัสดุ Toyota Motor Asia Pacific Engineering and Manufacturing Co., Ltd.

หน้าที่ความรับผิดชอบ แผนกที่พี่อยู่คือ Material Engineering Division (MED) ซึ่งกรุ๊ปย่อยๆของ MED นั้นมีอยู่ 4 กรุ๊ป แต่ในส่วนของพี่อยู่ในส่วนของ Group Paint ที่ทำเกี่ยวกับสีและ Anti Corrosion (กันสนิม) ของรถทุกคัน “การที่ประเทศของเรากำลังจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 นี้ เราควรจะเตรียมตัวด้านภาษาอังกฤษของเราให้ดี เพราะหากเราพูดได้แค่ภาษาไทย ความก้าวหน้าในการทำงานของเราก็จะพัฒนาช้า Bilingual program เป็นโครงการที่ภาควิชาได้เปิดขึ้นใหม่ เพื่อเตรียมตัวให้เรามีความสามารถด้านภาษาอังกฤษควบคู่ไปกับการศึกษาในด้านของวิศวกรรม เพื่อที่เราจะสามารถติดต่อสื่อสารกับชาวต่างชาติได้อย่างเข้าใจและถูกต้องครับ”

  • วิสัยทัศน์ มจพ."เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ "

  • วิสัยทัศน์คณะวิศวกรรมศาสตร์."เป็นหนึ่งในผู้นำด้านวิศวกรรมศาสตร์ในระดับนานาชาติ "

  • วิสัยทัศน์ของภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและเทคโนโลยีการผลิต."สร้างวิศวกรสู่ประชาคมอาเซียนและสร้างกลุ่มวิจัยให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ "

  • MPTE's motto"MPTE, We Tackle!"